งานวิจัย ล่าชุดชี้ว่าผู้ป่วย โควิด-19 เสียชีวิตจากภูมิคุ้มกันตัวเองที่สร้างลิ่มเลือดขึ้นมาอุดตัน มากกว่าไวรัส งานวิจัยล่าสุด จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ชี้ว่า ลิ่มเลือดอุดตันที่เกิดจาก โควิด-19 อาจมาจากระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย มากกว่าที่จะเกิดจากโคโรนาไวรัส
โดยเหตุที่เป็นเช่นนั้นเกิดจากเซลล์ภูมิคุ้มกันพยายามที่จะดักจับสิ่งแปลกปลอมภายนอกที่เข้าสู่ร่างกาย
“นี่คือวิธีควบคุมการติดเชื้อ แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นในเส้นเลือด มันก็อาจก่อให้เกิดอาการลิ่มเลือดอุดตันได้” เจสัน ไนท์ อายุรแพทย์โรคไขข้อ จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน กล่าว ในขณะที่โยเก้น คานธี แพทย์โรคหัวใจ จากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ในบีเทสด้า ก็กล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่าลิ่มเลือดอุดตันในปอดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วย โควิด-19 เสียชีวิต
ซึ่งวิธีที่แพทย์ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการเช่นนี้ และไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบอื่น ๆ ก็คือกระบวนการที่เรียกว่า Plasmapheresis หรือการกรองของเหลวออก เพื่อหยุดการแข็งตัวของเลือด ควบคู่กับการฉีดโปรตีนภูมิคุ้มกันที่สร้างจากห้องปฏิบัติการแก่ผู้ป่วยเพื่อเป็นตัวกระตุ้นอีกทางหนึ่งด้วย
“เราเคยคิดว่าครีบคืออวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนที่ แต่จริง ๆ แล้วมันยังมีจุดรับสัมผัสอันยอดเยี่ยมอีกด้วย” อดัม ฮาร์ดี้ กล่าว
“มนุษย์มีความสามารถในการใช้มือหยิบจับสิ่งต่าง ๆ และปลาก็มีความสามารถนั้นเช่นกัน เพียงแต่พวกมันใช้ครีบ” เมลีนา เฮล เสริม
ซึ่งพวกเขาใช้ปลาบู่ เป็นตัวทดลอง และพบว่าพวกมันจะแกว่งครีบเพื่อรับสัมผัสกับพื้นผิวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นน้ำ หรือสัตว์น้ำตัวอื่น ๆ
ฮาร์ดี้ และ เฮล ปิดท้ายว่าพวกเขาจะเดินหน้าศึกษาประสาทสัมผัสของครีบปลาชนิดอื่น ๆ ต่อไป เพื่อประโยนช์ในการสร้างหุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำที่จะมีในอนาคต
นักประดิษฐ์ญี่ปุ่น สร้างนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือคนโสดโดยเฉพาะ หลังคิดค้น มือหุ่นยนต์ ไว้ใช้จับมือเดินแก้เหงา กลุ่มนักประดิษฐ์ญี่ปุ่น จากมหาวิทยาลัยกิฟุ ร่วมกันออกแบบ มือหุ่นยนต์ อัจฉริยะที่ชื่อว่า Osampo Kanojo (แฟนสาวสำหรับเดินเล่น) เพื่อช่วยเหลือเหล่าหนุ่มโสดที่อยากจะเดินจับมือใครสักคนยามเหงา
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 18 สิงหาคม ประวัติวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ความสำคัญของวันวิทยาศาสตร์
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ – ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ที่กำหนดวันนี้เพราะ เมื่อ 152 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ ที่บ้านหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยพระอัจฉริยภาพของพระองค์คือ ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาในประเทศไทยด้วยพระองค์เองอย่างแม่นยำล่วงหน้าถึง 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 หรือตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ในปฎิทินสุริยคติ
ต้นกำเนิดวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เกิดจาก วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พร้อมกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ”
ดร.สามารถ คำนวณความเร็วเฟอร์รารี บอส อยู่วิทยา คิดจากระยะทางจริงเกิน 76 กม./ชม.
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ วิธีคำนวณความเร็วเฟอร์รารี โดยเทียบกับการคำนวณของ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม ซึ่งคำนวณความเร็วได้ 76 กม./ชม. โดยดร.สามารถ ระบุว่า ตัวแปรที่ต่างกันคือระยะทางเนื่องจาก ดร.สามารถ และ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ หาระยะทางออกมาได้ต่างกัน ดร.สามารถใช้ระยะทางที่รถวิ่งได้จึงได้ความเร็ว 126 กม./ชม. แต่ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ ใช้ความยาวตามเส้นทแยงของรถจึงคำนวณความเร็วได้ 76 กม./ชม.
ล่าสุด ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับการคำนวณความเร็วของรถเฟอร์รารีที่เกิดอุบัติเหตุเพื่อพิสูจน์ว่ารถขับมาด้วยความเร็วเท่ากับ 76 กม./ชม. จริงหรือไม่
“พิสูจน์! “ความเร็ว” เฟอร์รารี
ความเร็วของรถเฟอร์รารีที่เกิดอุบัติเหตุจะเท่ากับ 76 กม./ชม. หรือมากกว่า ดูวิธีคำนวณง่ายๆ เพื่อช่วยกันค้นหาความจริงให้ปรากฏ โดยอ่านบทความสั้นๆ นี้ พร้อมดูรูปประกอบแล้วจะเข้าใจได้ไม่ยาก
สูตรการหาความเร็วมีสูตรเดียวคือ ความเร็ว = ระยะทาง/เวลา
ผม (ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์) คำนวณความเร็วได้ 126 กม./ชม. แต่ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คำนวณได้ 76 กม./ชม. โดยผมใช้วิธีหาระยะทางและเวลาเหมือนกับวิธีของ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ แต่คำนวณความเร็วได้ไม่เท่ากัน เนื่องจากหาระยะทางได้ไม่เท่ากันนั่นเอง ส่วน ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คำนวณได้ 177 กม./ชม. โดยใช้วิธีหาระยะทาง ต่างจากของผมและของ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ จึงไม่ขอนำมาเปรียบเทียบ
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป